ระเบียบกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
ว่าด้วยกองทุนเพื่อการศึกษา (หลวงพ่อสมบัติ ญาณวโร)
...............................
ด้วยหลวงพ่อสมบัติ ญาณวโร วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) กรุงเทพมหานคร ได้นำญาติโยมศานุศิษย์ และผู้มีจิศรัทธาทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และต่างประเทศ มาทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ วัดโพธิ์น้อย และทุกวัดในตำบลกระหวัน และวัดในตำบลขุนหาญ ระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2539 ได้พบเห็นสภาพของนักเรียน ผู้ปกครองตลอดจนชาวบ้านที่มาคอยต้อนรับคณะกฐินสามัคคีว่ามีสภาพยากจน แร้นแค้น ขาดแคลนเงินทอง เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์การเรียน และอาหารกลางวัน ทราบว่าผู้ปกครองนักเรียนบางคน มีรายได้ต่อปี
ไม่ถึง 1,500 บาท จึงเกิดความรู้สึกเห็นใจและสงสารเด็กเหล่านั้น อยากให้ความช่วยเหลือ จึงมีดำริอยากจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาขึ้นโดยมุ่งเน้นที่กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน จึงได้มอบหมายให้ หลวงพ่อจันทึก โฆสิโต วัดชำนิหัตการ และคณะครูในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน นำไปพิจารณาและดำเนินการโดยท่านจะจัดหาเงินงบประมาณมาให้เป็นทุนในการก่อตั้งซึ่งสามารถรวบรวมได้จนถึงบัดนี้ จำนวน 37,000 บาท เป็นทุนในการจัดตั้ง
หมวดที่ 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ข้อ 1 ระเบียบนี้ให้ชื่อว่า ระเบียบกองทุนเพื่อการศึกษา (หลวงพ่อสมบัติ ญาณวโร) พ.ศ.2541
ข้อ 2 ผู้ให้การก่อตั้ง หลวงพ่อสมบัติ ญาณวโร แห่งวัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) กรุงเทพมหานคร
ข้อ 3 ผู้รับดำเนินการ หลวงพ่อจันทึก โฆสิโต และคณะครูกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อการศึกษา
4.1 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดี และมีความประพฤติเรียบร้อยช่วยเหลือสังคม
4.2 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน ขาดที่พึ่งและกำพร้าบิดา – มารดา
4.3 เพื่อส่งเสริมเด็กนักเรียนโรงเรียนในตำบลกระหวันให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น
4.4 เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมนักเรียนภายในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเงินทุนดำเนินการ
ข้อ 5 เงินทุนดำเนินการ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
5.1 ทุนริเริ่ม เป็นเงินทุนที่ หลวงพ่อสมบัติ ญาณวโร ขอบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา แล้วนำมามอบ
ให้ดำเนินการเป็นทุนก่อตั้งครั้งแรก
5.2 ทุนสมทบ เป็นเงินทุนที่ได้รับจากการบริจาค ภายหลังจากการก่อตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาขึ้นมาแล้ว และให้รวมถึงดอกผลที่เหลือจากการดำเนินการ
ข้อ 6 การดำเนินการ ให้สามารถนำเงินจากกองทุนเพื่อการศึกษาไปดำเนินการที่มีดอกผลและรายได้เพื่อ การศึกษา โดยการนำไปเป็นเงินกู้ให้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
หมวดที่ 3 ว่าด้วยการกู้เงิน
ข้อ 7 กองทุนให้เงินกู้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันและคณะกรรมการบริหารกองทุน ดังนี้
7.1 เงินกู้สามัญ
7.2 เงินกู้ฉุกเฉิน
ข้อ 8 การให้เงินกู้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันและคณะกรรมการบริหารกองทุนนั้น จะให้ได้เฉพาะกรณีเพื่อการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่จะกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่าย หรือการเก็งกำไรไม่ได้ และอาจให้เงินกู้แก่สมาชิกตามความในข้อ 7 ในคราวเดียวกันก็ได้
ข้อ 9 คำขอกู้ทุกประเภทของสมาชิกนั้น ต้องเสนอโดยผ่านความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาสามารถให้ความเห็นชอบหรือรับรองตนเองได้ สมาชิกผู้ประสงค์จะขอกู้เงินต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนดไว้
ข้อ 10 เงินกู้สามัญ
10.1 เมื่อผู้กู้มีเหตุจำเป็น และประสงค์จะขอกู้เงินก็ให้ยื่นคำขอกู้ต่อกองทุนตามแบบที่กำหนดไว้
10.2 จำนวนเงินกู้สามัญที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ นั้น ต้องอยู่ภายในจำกัดวงเงินต้องไม่เกิน 20,000 บาท
10.3 เงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้สามัญ ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นเป็นงวดรายเดือนเท่ากัน พร้อมทั้งดอกเบี้ย
ร้อยละ 2 ซึ่งลดลงตามลำดับ มีกำหนดไม่เกิน 20 งวด ไม่เกินวันที่ 5 ของเดือนถัดไป
ข้อ 11 เงินกู้ฉุกเฉิน
11.1 เมื่อผู้กู้มีเหตุฉุกเฉินอันแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้ และประสงค์จะขอกู้เงิน กู้ให้ยื่นคำขอกู้แก่
กองทุนตามแบบที่กำหนดไว้
11.2 เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ นั้น กองทุนให้กู้ได้ไม่เกิน 2,000 บาท โดยให้ผู้กู้
ส่งคืนเงินต้นเป็นงวดรายเดือนเท่ากัน พร้อมทั้งดอกเบี้ย ร้อยละ 2 ซึ่งลดลงตามลำดับ มีกำหนดไม่เกิน
4 งวด ภายในวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
ข้อ 12 การค้ำประกันเงินกู้
12.1 เพื่อความมั่นคงในการให้เงินกู้ การกู้เงินสามัญผู้กู้ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 1 คน ซึ่งต้อง
เป็นคณะครูในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันเท่านั้น
12.2 เมื่อผู้ค้ำประกันคนใดตาย ย้าย หรือเกษียณอายุราชการ ออกจากกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
โดยเหตุอื่น หรือมีเหตุที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าไม่สมควร หรือไม่อาจที่จะเป็นผู้ค้ำประกัน
ต่อไปผู้กู้ต้องจัดหาสมาชิกอื่นซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิม
ให้เสร็จโดยเร็ว และการที่สมาชิกผู้ค้ำประกันออกจากกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน ไม่ว่า
เพราะเหตุใด ๆ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากการค้ำประกันจนกว่าผู้กู้ได้จัดหาสมาชิกอื่น เข้าเป็นผู้
ค้ำประกันแทน
ข้อ 13 การควบคุมหลักประกันและการเรียกคืนเงินกู้
13.1 ในกรณีใด ๆ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเงินกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ เป็นอันถึงกำหนดส่งคืนโดยสิ้นเชิงพร้อม
ดอกเบี้ยในทันที โดยมิพัก คำนึงถึงกำหนดเวลาที่ให้ไว้ และให้คณะกรรมการดำเนินการจัดการเรียก
คืนโดยมิชักช้า
( 1 ) เมื่อสมาชิกผู้กู้ออกจากกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ
( 2 ) เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการผู้กู้นำเงินกู้ ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
( 1 ) เมื่อสมาชิกผู้กู้ออกจากกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ
( 2 ) เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการผู้กู้นำเงินกู้ ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
( 3 ) เมื่อค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ (ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ย) เป็นเวลาถึงสองเดือนหรือผิดนัดการ
ส่งเงินงวดชำระหนี้ ดังว่านั้นถึงสามคราวสำหรับเงินกู้รายหนึ่ง ๆ นับตั้งแต่ได้รับแจ้งจาก
กองทุนเป็นลายลักษณ์อักษร
13.2 ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ และไม่สามารถชำระหนี้นั้นโดยสิ้นเชิงได้เมื่อผู้ค้ำ
ประกันร้องขอคณะกรรมการดำเนินการอาจผ่อนผันให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันเป็นงวดรายเดือนจน
เสร็จตามที่ผู้กู้ให้ไว้ต่อกองทุนก็ได้ สุดแต่จะพิจารณาเห็นสมควร
13.3 ผู้กู้ก็ดี ผู้ค้ำประกันก็ดี ต้องรับผูกพันว่า ถ้าตนประสงค์จะขอย้ายหรือออกจากราชการหรืองานประจำ
จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้กองทุนทราบและจัดการชำระหนี้สินซึ่งตนมีอยู่ต่อกองทุนให้เสร็จสิ้น
เสียก่อนแล้วจึงจะย้าย หรือออกจากราชการ หรืองานประจำนั้นได้
หมวดที่ 4 ว่าด้วยการบริหารและคณะกรรมการ
ข้อ 14 ให้มีการบริหารเงินทุนในรูปคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกโรงเรียน
ข้อ 15 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย
15.1 กรรมการโดยตำแหน่ง
( 1 ) ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร
( 2 ) ผู้บริหารทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน เป็นกรรมการ และให้มีการ
เลือกรองประธานคณะกรรมการบริหารขึ้นมา 1 คน เพื่อทำหน้าที่แทนประธาน เมื่อ
ประธานไม่อยู่
( 3 ) รองประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันฝ่ายแผนงานและงบประมาณ เป็น
กรรมการและเลขานุการ
15.2 เจ้าหน้าที่การเงิน หรือตัวแทนจากทุกโรงเรียนภายในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
เป็นกรรมการ
15.3 ให้มีการเลือกกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จากตัวแทนของโรงเรียนขึ้นมา 1 คน เพื่อทำหน้าที่ ช่วยเหลือเลขานุการ
15.4 คณะกรรมการที่ปรึกษากองทุน ให้คณะกรรมการจัดหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือมีความ
เหมาะสมเป็นที่ปรึกษากองทุน ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และมีสิทธิในการกู้ยืมเงินของ
กองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ของกองทุน
ข้อ 16 คณะกรรมการทั้งหมดให้มีหน้าที่บริหารเงินกองทุนเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุปะสงค์ของ กองทุนเพื่อการศึกษา แล้วยังต้องมีหน้าที่จัดหาทุนมาเพิ่มเติมให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อไป
ข้อ 17 คณะกรรมการทั้งหมดจะอยู่ในตำแหน่งได้คราวละเท่าใดนั้น ให้ยึดตามวาระของประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันเป็นสำคัญ และหากมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรตามข้อ 15 ให้ประธานกองทุนออกประกาศแต่งตั้งเป็นคราวๆ ไป
ข้อ 18 การบริหารกองทุน ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง วันเวลาและ สถานที่ ให้คณะกรรมการได้กำหนดขึ้นมาเอง
ข้อ 19 หลักเกณฑ์การประชุม มีดังนี้
19.1 การนับองค์ประชุม คณะกรรมการมาประชุมเกินกึ่งหนึ่งให้ถือว่าครบองค์ประชุม
19.2 หากประธานไม่ได้มาประชุมให้รองประธานทำหน้าที่แทน หากทั้งประธานและรองประธาน
ไม่ได้มาประชุม ให้เลือกคนใดคนหนึ่งจากคณะกรรมการทำหน้าที่ประธานแทน
19.3 การลงมติใดๆ ให้ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ หากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานเป็นผู้ลงคะแนน
ชี้ขาด
หมวดที่ 5 ว่าด้วยกำไรและการจัดสรรเงินทุนการศึกษา
ข้อ 20 กำไรจากการดำเนินงานหรือการร่วมลงทุน ให้นำมาจัดสรรงบประมาณดังต่อไปนี้
20.1 จัดเป็นเงินทุนเพื่อการศึกษา ร้อยละ 50
20.2 จัดเป็นเงินทุนสำรองหรือสมทบ ร้อยละ 20
20.3 จัดเป็นเงินช่วยเหลือกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน ร้อยละ 25
20.4 จัดเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริหารกองทุน ร้อยละ 5
ข้อ 21 การสรรหาเด็กเพื่อรับทุนการศึกษาให้ดำเนินการได้ดังนี้
21.1 แจ้งเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนรับทุนการศึกษาและจำนวนทุนให้ทุกโรงเรียนทราบ
21.2 ให้โรงเรียนคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนตามเกณฑ์ที่กำหนดพร้อมส่งรายชื่อมาให้คณะกรรมการ
พิจารณา
21.3 ให้มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินทุน กำหนดวัน เวลา และสถานที่
ที่จะมอบ ทุน และคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันทุกครั้ง
21.4 ให้เลขานุการจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนที่ขอรับทุนโดยละเอียด
หมวดที่ 6 หมวดอื่นๆ
ข้อ 22 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริหารกองทุนให้ใช้จ่ายได้ตามความเป็นจริงและความจำเป็นเท่านั้น
ข้อ 23 การมอบทุนการศึกษาให้จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยให้โรงเรียนนำนักเรียนมาขอรับทุนตามวัน เวลา สถานที่ที่ได้กำหนดขึ้น
ข้อ 24 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดสร้างเกณฑ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกเด็กที่จะมาขอรับทุนต่อไป
ข้อ 25 การเปลี่ยนแปลงระเบียบใดๆ ของกองทุนให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนเท่านั้น
ข้อ 26 นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับหลักเกณฑ์ใด ซึ่งกองทุนถือใช้อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ถือใช้ และไม่ขัดหรือ
แย้งกับระเบียบนี้ให้ถือใช้ตามหลักเกณฑ์นั้นไปก่อนจนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นถือใช้ใหม่ข้อ 27 ให้ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
แย้งกับระเบียบนี้ให้ถือใช้ตามหลักเกณฑ์นั้นไปก่อนจนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นถือใช้ใหม่ข้อ 27 ให้ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวันรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) นายวิทวัส รัตโน
(นายวิทวัส รัตโน)
ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลกระหวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น